วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การป้องกันอุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท

อุบัติเหตุ เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในวัยเด็กที่กำลังซุกซน คำกล่าวที่ว่า
อุบัติเหตุป้องกันได้ ถ้าไม่ประมาท เป็นข้อเตือนใจสำหรับผู้ที่โตแล้วแต่สำหรับเด็กนั้น อุบัติเหตุ
อาจเกิดจากความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์และอุปนิสัยที่เป็นธรรมชาติ เช่น ความอยากรู้อยากเห็น เอานิ้วหรือวัตถุแหย่เข้าไปในปลั๊กไฟฟ้า นิสัยชอบนำสิ่งของเข้าปากของทารกหรือการไขว่คว้า
สิ่งที่เคลื่อนไหว

อุบัติเหตุที่เรามักพบเสมอ

1. อุบัติเหตุจากไฟฟ้า มักเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้ที่ขาดความรู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์
หรืออาจเป็นเพราะความประมาท ซึ่งทำให้ถูกไฟดูด หรือไฟลัดวงจร บางครั้งก็เป็นอันตราย
ต่อชีวิตและทรัพย์สินอีกด้วย เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุจากไฟฟ้าเราควรปฏิบัติดังนี้

- อย่าแตะต้องสายไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชำรุด ในขณะที่กระแสไฟฟ้ายังไหลอยู่
- อย่าตอกตะปูทับสายไฟฟ้า เพราะจะทำให้ฉนวนหุ้มชำรุดและมีกระแสไฟฟ้ารั่วมาที่ตะป
ู ทำให้เกิดอันตรายได้
- อย่าเสียบเครื่องใช้หุงต้มหรือเตาไฟฟ้าทิ้งไว้ เพราะความร้อนที่เกิดขึ้นอาจทำให้
เกิดการลุกไหม้ได้
- อย่าใช้หลอดไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำให้เกิดความร้อนอยู่ใกล้กับผ้าหรือวัสดุ
ที่เป็นเชื้อเพลิงอื่นๆ เพราะอาจทำให้เกิดไฟฟ้าไหม้ได้
- อย่าเล่นว่าวใกล้สายไฟฟ้า สายป่านอาจจะพาดสายไฟทำให้เกิดอันตรายได้
- อย่าใช้ไฟฟ้าในการจับปลาเป็นอันขาด เพราะนอกจากจะเป็นการผิดกฎหมายแล้ว
ผู้ใช้อาจถูกไฟดูดได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
- ถ้ามีความรู้ไม่พอ อย่าแก่ไขซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเอง
- ในขณะที่มือและเท้าเปียกน้ำหรือเปียกเหงื่อหรือขณะที่ยืนอยู่ในที่ชื้นแฉะไม่ควรแตะต้อง
เครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะอาจจะทำให้ไฟดูดได้
- ตรวจดูสายไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่เสมอ ถ้าพบว่ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดชำรุดต้องรีบแก้ไข
หรือเปลี่ยนใหม่ให้อยู่ในสภาพดี

2. อุบัติเหตุจากการจราจร อุบัติเหตุจากการจรราจรนั้นอาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ถ้าหากว่า
ขาดความระมัดระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจราจรในเมืองที่มียวดยานพาหนะและผู้คนหนาแน่น
อุบัติเหตุก็ยิ่งเกิดได้ง่ายขึ้นดังนั้นในการสัญจรไม่ว่าจะไปที่ใดหรือโดยวิธีใดก็ตามควรจะมี
ความระมัดระวังอยู่เสมอ จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุได้มาก การป้องกันอุบัติเหตุ ทำได้ดังนี้

การเดินถนน

- ควรเดินบนทางเท้าเสมอ ถ้าถนนไม่มีทางเท้าก็ให้เดินชิดขอบถนนด้านขวามือ
เพื่อจะได้มองเห็นยวดยานที่ผ่านมาทางด้านหน้าเรา
- ควรเดินข้ามทางม้าลายและถ้าเป็นทางข้ามที่มีสัญญาณไฟควบคุมก็ควรข้ามเมื่อ
มีสัญญาณไฟให้ข้ามได้หรือเมื่อมีสัญญาณไฟให้รถหยุด
- ถ้าข้ามถนนบริเวณที่ไม่มีทางข้าม จะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
โดยยืนอยู่ขอบถนนก่อน หลังจากมองขวามองซ้ายและมองขวาอีกครั้ง ดูจนกระทั่ง
แน่ใจว่า ไม่มีรถแล่นมาในระยะใกล้แล้วจึงเดินข้ามถนน
- การข้ามถนนขณะที่ฝนตก หรือในเวลากลางคืน จะต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก
เพราะผู้ขับขี่จะมองไม่ชัดเจน และหยุดรถก็ลำบาก
- ไม่ข้ามถนนบริเวณที่มีป้ายรถประจำทาง และไม่ข้ามถนนทางด้านหน้าของรถ
ที่กำลังจอดอยู่ เพราะจะทำให้ไม่เห็นรถที่กำลังวิ่งมา และคนขับรถที่กำลังวิ่งมา
ก็จะมองไม่เห็นคนที่กำลังเดินข้ามถนนด้วย
- ศึกษาและปฏิบัติตามกฎจราจรให้ถูกต้องอยู่เสมอ

การใช้รถโดยสาร

การขึ้นรถหรือลงรถโดยสารต้องรอให้รถจอดสนิทก่อน
อย่างแย่งกันขึ้นรถ ควรรอให้ผู้โดยสารลงจากรถเรียบร้อยเสียก่อน แล้วจึงขึ้นไป
ทีละคน แล้วลงจากรถตามกันมาทีละคน
ควรหาที่นั่งหรือที่ยืนภายในรถ อย่าชะโงกหน้าหรือยื่นแขน ขา ออกนอกรถ
อย่าเกาะหรือห้อยโหนตามบันไดรถ เพราะอาจจะพลัดตกเป็นอันตรายได้

การโดยสารเรือ
การขึ้นหรือลงจากเรือ ต้องให้เรือจอดให้เทียบท่าให้เรียบร้อยก่อน
อย่าแย่งกันขึ้นหรือลงเรือ เพราะอาจทำให้เรือเอียงและล่มได้
อย่านั่ง หรือเกาะที่แคมเรือ
อย่าโดยสารเรือที่บรรทุกสินค้าหรือคนจนเต็มเรือแล้ว
ไม่ควรโดยสารเรือในขณะที่อากาศแปรปรวน มีฝนและพายุ
ควรฝึกว่ายน้ำให้เป็น เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางโดยทางเรือ
เพราะจะได้ช่วยตัวเองได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ

3. อุบัติเหตุจากการใช้เครื่องมือต่างๆ
เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆที่เรานำมาใช้งานอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ได้ จึงต้องเรียนรู้
วิธีใช้ แล้วใช้ให้ถูกวิธี และใช้ด้วยความระมัดระวัง ซึ่งมีแนวทางในการป้องกันอุบัติเหตุได้ดังนี้

เก็บรักษาเครื่องมือที่ใช้แล้วไว้ในที่ ที่ปลอดภัย เช่น ตู้เก็บเครื่องมือ
ศึกษาวิธีใช้ ในเข้าใจอย่างระเอียด
ใช้เครื่องมือให้ถูกกับงาน เช่น จอบขุดใช้ขุดดิน จอกถากใช้ถากดินหรือถางหญ้า
ก่อนใช้เครื่องมือทุกครั้งควรตรวจสภาพเครื่องมือชิ้นนั้นๆว่าอยู่ในสภาพใช้การได้
ใช้เครื่องมือด้วยความระมัดระวัง ไม่หยอกล้อกันขณะใช้เครื่องมือ
การออกกำลังกายช่วยให้ร่างกายแข็งแรง เจริญเติบโตสมวัย กระตุ้นให้กระดูกยาวขึ้น
และเเข็งแรงขึ้น ทำให้สูงสง่า บุคลิกดี และยังช่วยผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน
ตลอดจนเพิ่มภูมิต้านทานแก่ร่างกาย

1.ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 20-30 นาที
2.ออกกำลังกาย และเล่นกีฬาให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย และวัย
3.ตรวจสอบสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละครั้ง
การออกกำลังกายเริ่มอย่างไร

ทุกคนคงจะรู้ว่าการออกกำลังกาย คืออะไร แต่จะมีสักกี่คนที่ลงมือปฏิบัติหรือแม้แ่ต่้ปฏิบัติ
ให้ถูกวิธีตามขั้นตอน เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายในการออกกำลังกาย ดังนั้นเราควรจะศึกษา
วิธีการเริ่มออกกำลังกายที่ถูกต้อง ดังนี้

ขั้นที่ 1 การอบอุ่นร่างกาย ( Warm up ) ก่อนที่จะออกกำลังกายต้องมีการอบอุ่น
ร่างกายก่อน เช่น ถ้าเราออกกำลังกายด้วยการวิ่ง ก็ไม่สมควรจะลงวิ่งทันที เมื่อไปถึงสนาม
ควรจะอุ่นร่างกายให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นก่อน ช้าๆ เช่น การเคลื่อนไหวร่างกาย สะบัดแข้ง
สะบัดขา แกว่งแขน วิ่งเยาะๆ อยู่กับที่ช้าๆ ชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อน แล้วจึงออกวิ่ง ดังนั้น
การอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังการจึงเป็นขั้นตอนแรกที่ต้องกระทำ

ขั้นที่ 2 ขั้นตอนการออกกำลังกายอย่างจริงจัง การออกกำลังกายนั้นจะต้องเพียงพอ
ทำให้ร่างกายเกิดการเผาไหม้อาหารในร่างกาย โดยการหายใจเข้าไปเพื่อทำให้เกิดพลังงาน
จนถึงระดับหนึ่ง การออกกำลังกายได้ถึงระดับนี้ เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ออกกำลังกายจะต้องเข้าใจ
ให้ถูกต้อง

ขั้นที่ 3 เป็นขั้นตอนการผ่อนให้เย็นลง คือ เมื่อออกอำลังกายตามที่กำหนดที่เหมาะ
ตามขั้นตอนที่ 2 แล้วควรค่อยๆผ่อนการออกกำลังก่ายลงทีละน้อยแทนการหยุดออกกำลังกาย
โดยทันที ทั้งนี้เพื่อให้เลือดที่คั่งอยู่ตามกล้ามเนื้อได้มีโอกาสกลับคืนสู่หัวใจ

ลักษณะผู้ที่มีสุขภาพจิตดี

1. สร้างความเป็นกันเองกับผู้อื่น ความเป็นกันเองทำให้อยู่ร่วมกันอย่างสบายใจ

2. พูดจาด้วยถ้อยคำที่สุภาพจะทำให้ผู้ฟังเกิดความสบายใจแม้จะเป็นการตำหนิก็ไม่ทำให้
เกิดความเครียด

3. ร่าเริงแจ่มใส เช่น ยิ้มให้กันและกัน ร้องเพลงเบาๆ ขณะทำงาน หัวเราะเมื่อมีเรื่องขำขัน

4. ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน การกินอยู่ หรือความสะดวกสบาย เช่น
การรับประทานอาหารร่วมกันจ่ายคนละเท่าๆกัน จะทำให้ทุกคนสบายใจ

5. ให้ความช่วยเหลือโดยไม่ต้องให้ร้องขอ เมื่อเห็นผู้อื่นต้องการความช่วยเหลือ
ก็รีบเข้าไปช่วยโดยไม่ต้องรอให้เขาเอ่ยปาก แม้ผู้นั้นจะไม่ค่อยชอบก็ตาม

6. เก็บความลับได้ ผู้ที่ชอบเอาความลับของคนอื่นไปเปิดเผย มักจะเป็นคนที่มีปมด้อย

7. ยอมรับเมื่อตนทำผิด ทุกคนย่อมสามารถทำผิดได้แต่ต้องยอมรับผิดและแก้ไข

8. มีความอดทน เช่น เราไม่ชอบนิสัยบางอย่างของเพื่อน แต่ถ้าไม่หนักหนาอะไร
ก็เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ เพื่อรักษาไว้เพื่อมิตรภาพที่ดี

9. รู้จักวางตัวเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

10. ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น ออกกำลังกาย ร้องเพลง แต่งกลอน วาดรูป เป็นต้น

ชุมชนแต่ละแห่ง มีประวัติความเป็นมาไม่เหมือนกัน เพราะชุมชนบางชุมชนก่อตั้งมานาน
บางชุมชนก็เพิ่งตั้งขึ้น การก่อตั้งชุมชนมีลักษณะเหมือนกัน คือ เริ่มจากขนาดเล็ก มีคนอยู่
ร่วมกันไม่มากนัก ต่อมามีคนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นชุมชนใหญ่ และในแต่ละชุมชน
จะมีบ้าน ตลาด โรงเรียน โรงพยาบาล วัด สถานีตำรวจ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ธนาคาร
ที่ว่าการอำเภอ อยู่ภายในชุมชนนั้นๆ
การอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนไม่ว่าจะเป็นชุมชนแบบใดสมาชิกแต่ละคนย่อมมีบทบาทหน้าที่ที่พึง
ประพฤติปฏิบัติเพื่อสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่ชุมชน ชุมชนของเราจะน่าอยู่ ถ้าหากคนในชุมชน
มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน เราสามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบุคคลในชุมชนของเรา
ได้โดยวิธีต่างๆ ดังต่อไปนี้

ให้ความเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ขนบธรรมเนียมและประเพณี
ของชุมชน
มีความสามัคคีช่วยกันป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชุมชน
ช่วยกันสร้างสรรค์ และพัฒนาชุมชนของเราให้สวยงามน่าอยู่
ช่วยกันรักษาสาธารณสมบัติของชุมชน เช่น วัด สถานีอานามัย สถานีตำรวจ
โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ ถนน เป็นต้น
ให้ความช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน เช่น การแบ่งปันอาหารให้เพื่อนบ้าน
รู้จักการให้อภัยซึ่งกันและกัน รู้จักกล่าวคำขอโทษเมื่อกระทำสิ่งที่ผิดพลาด
ทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บหรือ ได้รับความเดือดร้อน
ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่เพื่อนบ้าน เช่น ไม่เปิดวิทยุเสียงดัง ไม่ทะเลาะวิวาท
หรือส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น เป็นต้น
รู้จักเสียสละ และทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนบ้านและชุมชน
ประพฤติตนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน และช่วยกันพัฒนาชุมชน




เราอาจมีส่วนร่วมในการช่วยพัฒนาชุมชน เช่น

- การช่วยพัฒนาชุมชนให้สวยงาม เช่น การขุดถนน คู คลอง การปลูกต้นไม้
ทุกคนควรร่วมมือ ร่วมใจ และช่วยเหลือในการปฏิบัติงานเหล่านี้อย่างเต็มความสามารถ

- การช่วยพัฒนาชุมชนให้คนในชุมชนมีสุขภาพอานามัยดี เช่น การร่วมมือกันกำจัด
ขยะมูลฝอย ถ้ามีหน่วยงานของรัฐมาช่วยตรวจโรค ฉีดวัคซีน ก็เข้าร่วมรับบริการ
และให้ความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่อย่างดีที่สุด

- การช่วยพัฒนาการศึกษาของคนในชุมชนทำได้โดยการส่งเสริมสนับสนุนให้บุตรหลาน
ของท่านได้เรียนหนังสือ ถ้าได้รับการขอร้องให้ช่วยเหลือจากทางโรงเรียน ก็ควรทำอย่าง
เต็มกำลังความสามารถหรืออาจจะสมัครเป็นกรรมการการศึกษาของโรงเรียน

- การช่วยดูแลความปลอดภัยของคนในชุมชน ก็ทำหน้าที่สอดส่องดูแลหาผู้กระทำความผิด
ที่สร้างความเดือดร้อนให้ชุมชน เพื่อส่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ดำเนินการ ถ้ามีการตั้งเวรยาม
รักษาความปลอดภัยของชุมชน ก็ควรเข้าร่วมด้วยความเต็มใจ

ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/health03/16/2/TGV/2.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น