วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด

อาบน้ำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
การอาบน้ำให้สะอาด จะต้องใช้สบู่ฟอกทุกส่วนของร่างกายให้ทั่ว และมีการขัดถูขี้ไคล
บริเวณลำคอ รักแร้ แขนขา ง่ามนิ้วมือ ง่ามนิ้วเท้า ขาหนีบ โดยเฉพาะอวัยวะเพศ
ต้องรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ หลังจากนั้นล้างด้วยน้ำและที่สำคัญควรเช็ดตัวให้แห้ง
ด้วยผ้าที่สะอาด จะช่วยให้ร่างกายสะอาด และสดชื่น
สระผม อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
การสระผมจะช่วยให้ผมและหนังศีรษะสะอาด ไม่สกปรกหรือมีกลิ่นเหม็น
ใช้แชมพูที่เหมาะสมกับสภาพผมของเราสระผมจนสะอาด แล้วเช็ดผมให้แห้ง
พร้อมทั้งหวีผมให้เรียบร้อย
*การหมั่นหวีผม จะช่วยนวดศีรษะให้เลือดมาเลี้ยงศีรษะมากขึ้น และต้องล้างหว
ีหรือแปรงให้สะอาดเสมอ การไม่สระผม หรือสระผมไม่สะอาด ทำให้เป็นชันนะตุ
รังแค และเกิดอาการคัน เกิดโรคผิวหนัง และเชื้อรา บนหนังศีรษะ ทำให้เกิดผมร่วง
และเสียบุคลิกภาพ
การรักษาอนามัยของดวงตา
ดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญ เราควรหวงแหนและให้ความเอาใจใส่ ควรปฏิบัติดังนี้
1. อ่านหรือเขียนหนังสือในระยะห่างประมาณ 1 ฟุต โดยมีแสงสว่างเพียงพอ
ให้แสงเข้าทางด้านซ้ายหรือตรงข้ามกับมือที่ถนัด หากรู้สึกเพลียสายตา
ควรพักผ่อนสายตาโดยการหลับตา หรือมองไปไกลๆ ชั่วครู่
2. หากมีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา ควรลืมตาในน้ำสะอาด อย่าใช้นิ้วมือขยี้ตา
3. ไม่ควรอ่านหนังสือในขณะที่รถกำลังแล่น
4. ดูโทรทัศน์ในระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตรครึ่่ง
5. บำรุงสายตาด้วยการรับประทานอาหารที่มีคุณค่า เช่น มะละกอสุก ฟักทอง
และผักบุ้ง เป็นต้น
6. ใส่แว่นกันแดด ถ้าจำเป็นต้องมองในที่ๆ มีแสงสว่างมากเกินไป
7. ตรวจสายตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยแผ่นทดสอบสายตา (E-Chart)
ถ้าสายตาผิดปกติให้พบจักษุแพทย์เพื่อตรวจสอบ และประกอบแว่นสายตา

การรักษาอนามัยของหู
หูเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย ที่จะต้องเอาใจใส่ดูแลให้ถูกต้อง ดังนี้ี
1. เวลาอาบน้ำหรือสระผมควรระวังอย่าให้น้ำเข้าหูและควรใช้ผ้าสะอาด
เช็ดใบหูหลังจากอาบน้ำเสร็จ
2. หากมีน้ำเข้าหู ให้เอียงหูข้างนั้นลง น้ำจะค่อยๆ ไหลออกมาได้เอง
หรือใช้ไม้พันสำลีเช็ดบริเวณช่องหูด้านนอก
3. ถ้าเป็นหวัด ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรงๆ เพราะจะทำให้เชื้อโรคจากจมูกหรือคอถูกดัน
เข้าไปในหูชั้นกลาง ทำให้เกิดการติดเชื้อและเกิดเป็นโรคหูน้ำหนวก
4. เมื่อมีแมลงเข้าหู อย่าพยายามแคะ ให้ใช้น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันพืช หยอดหูทิ้งไว้
แมลงจะเคลื่อนไหวไม่ได้ และตายในที่สุด ควรพบแพทย์เพื่อเอาแมลงออก
5. หลีกเลี่ยงจากการถูกกระทบกระแทกหูโดยแรง หรือการตบหู เพราะจะทำให้แก้วหู
และกระดูกภายในหูหลุด เกิดการสูญเสียการได้ยินตามมา รวมทั้งการหลีกเลี่ยง
เสียงอึกทึก และเสียงดังมากๆ อาจทำให้หูพิการได้
6. ต้องรู้จักสังเกตอาการผิดปกติของหู และการได้ยินอยู่เสมอ หากมีอาการผิดปกติ
เช่น รู้สึกปวดหู เจ็บหู คันหู หูอื้อ มีน้ำหรือหนองไหลจากหู เวียนศีรษะ มีเสียงดัง
รบกวนในหู การได้ยินเสียงน้อยลงหรือได้ยินไม่ชัด ต้องรีบไปพบแพทย์เฉพาะทาง
หู คอ จมูก ทันที
การรักษาอนามัยของจมูก
1. ควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำหมาดๆเช็ดในรูจมูกเบาๆ
2. ไม่ควรอยู่ในที่ที่มีอากาศสกปรก หรือมีฝุ่นละอองมากๆ
3. ไม่ควรใช้นิ้วมือ หรือวัตถุแข็งๆ แคะจมูก เพราะจะทำให้จมูกอักเสบและติดเชื้อโรค
4. ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรงๆ เมื่อเป็นหวัด
5. ไม่ถอนขนจมูกทิ้ง หรือตัดให้สั้น เพราะจะทำให้ฝุ่นละอองและเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
6. ระวังไม่ให้จมูกได้รับการกระแทกอย่างแรง เพราะอาจทำให้เลือดกำเดาไหล
7. ไม่นำเมล็ดผลไม้หรือสิ่งต่างๆ ใส่ในจมูกเล่นเพราะอาจจะหลุดเข้าไปในรูจมูก
และปิดทางเดินหายใจ อาจทำให้ถึงตายได้
8. หากมีอาการผิดปกติที่จมูกควรรีบปรึกษาแพทย์
ตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอ
มือและเท้าเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่สำคัญ ต้องมีการดูแลรักษาไม่ปล่อยให้
้เล็บมือเล็บเท้ายาว การปล่อยให้เล็บยาว โดยไม่ดูแลความสะอาดจะทำให้เชื้อโรค
ที่สะสมอยู่ตามซอกเล็บ ติดไปกับอาหาร เป็นการนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทางปากโดยตรง
ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง ก่อนและหลังรับประทานอาหาร และหลังจากเข้าส้วมแล้ว
ต้องล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดทุกครั้ง และต้องสวมรองเท้าเมื่อออกจากบ้าน

ถ่ายอุจจาระเป็นเวลาทุกวัน
ควรฝึกขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน ในตอนเช้า อย่าให้ท้องผูกบ่อยๆ
เพราะจะทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวารและเป็นมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้

ใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้น และให้ความอบอุ่นเพียงพอ
การรักษาความสะอาดของเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องนอนเป็นสิ่งสำคัญ
ต้องมีการทำความสะอาดด้วยสบู่ หรือผงซักฟอกทุกครั้ง นำไปผึ่งหรือตากแดดให้แห้ง
ประการสำคัญ การสวมเสื้อผ้า ต้อใช้ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ไม่ใส่เสื้อผ้าซ้ำๆ
หรือซักไม่สะอาด อับชื้น เพราะจะทำให้เกิดโรคผิวหนังได้

ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/health03/16/2/TGV/2.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น